วันพฤหัสบดีที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2560

นิทานเวตาล (เรื่องที่ 10) (ความเป็นมา)



ความเป็นมา
                นิทานเวตาล ฉบับนิพนธ์ พระราชวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ มีที่มาจากวรรณกรรมสันสกฤตของอินเดีย  โดยมีชื่อเดิมว่า เวตาลปัญจวิงศติ” ศิวทาสได้แต่งไว้ในสมัยโบราณ
                  ต่อมาได้มีผู้นำนิทานเวตาลทั้งฉบับภาษาสันสกฤตและภาษาฮินดีมาแปลเป็นภาษาอังกฤษ โดยร้อยเอก เซอร์ ริชาร์ด เอฟ. เบอร์ตัน  ก็ได้นำมาแปลและเรียบเรียงแต่งแปลงเป็นสำนวนภาษาของตนเองให้คนอังกฤษอ่าน แต่ไม่ครบทั้ง 25 เรื่อง กรมหมื่นพิทยาลงกรณ ได้ทรงแปลนิทานเวตาลจากฉบับของเบอร์ตัน จำนวน 9 เรื่อง และจากฉบับแปลสำนวนของ ซี. เอช. ทอว์นีย์   อีก 1 เรื่อง รวมเป็นฉบับภาษาไทยของกรมหมื่นพิทยาลงกรณ 10 เรื่อง เมื่อ พ.ศ. 2461
                   นิทานเวตาลเป็นนิทานที่มีลักษณะเป็นนิทานซับซ้อนนิทาน คือ มีนิทานเรื่องย่อยซ้อนอยู่ในนิทานเรื่องใหญ่

ประวัติผู้แต่ง
            พระราชวงศ์เธอ    กรมหมื่นพิทยาลงกรณ ทรงชำนาญด้านภาษาและวรรณคดีเป็นพิเศษ ได้ทรงนิพนธ์หนังสือไว้มากมายโดยใช้นามแฝงว่า น.ม.ส. ซึ่งทรงเลือกจากตัวอักษรตัวหลังพยางค์ของพระนาม (พระองค์เจ้า) รัชนีแจ่มจรัส

ลักษณะคำประพันธ์

           นิทานเวตาล แต่งเป็นร้อยแก้ว    โดยนำทำนองเขียนร้อยแก้วของฝรั่งมาปรับเข้ากับสำนวนไทยได้อย่างกลมกลืน และไม่ทำให้เสียอรรถรส แต่กลับทำให้ภาษาไทยมีชีวิตชีวา จึงได้รับยกย่องเป็นสำนวนร้อยแก้วที่ใหม่ที่สุดในยุคนั้น เรียกว่า สำนวน น.ม.ส.

นิราศนริทร์คำโคลง (ประวัติผู้แต่ง)

๒.ประวัติผู้แต่ง
             นิราศนรินทน์คำโคลง เป็นนิราศที่มีชื่อเสียงที่สุดในกรุงรัตนโกสินทร์ ด้ยมีความไพเราะเป็นเยี่ยม แต่เป็นที่หน้าเสียดายว่าความรู้เกี่ยวกับประวัติผู้แต่งนั้นไม่สู้ชัดเจนนักนอกจากปรากฏอยู่ในโคลงท้ายเรื่องว่า
“โคลงนิราศเรื่องนี้                  นรินทร์อิน
รองบาทบวรวังถวิน                     ว่าไว้”
    ๓.ลักษณะคำประพันธ์
            นิราศนรินทน์คำโคลง แต่งด้วยคำประพันธ์ประเภทร่ายสุภาพ จำนวน ๑ บท และโคลงสี่สุภาพจำนวน ๑๔๓ บท
           ๓.๑ ร่ายสุภาพ
                   ร่ายสุภาพแต่งเป็นวรรค วรรคละประมาณ ๕ คำ หรือมากกว่านั้น และจะแต่งให้ยาวกี่วรรคก็ได้ แต่สามวรรคสุดท้ายก่อนที่จะจบบทจะต้องมีฉันทลักษณ์เป็นโคลงสองสุภาพเสมอ
                   ส่วนการสัมผัสนั้นคำสุดท้ายของวรรคหน้าจะสัมผัสกับคำที่ ๑,๒ หรือ ๓ ของวรรคต่อไปแต่ถ้าคำสุดท้ายของวรรคหน้าส่งสัมผัสเป็นคำเอกหรือคำโท คำที่รับสัมผัสในวรรคต่อไปจะต้องเป็นคำเอกหรือคำโทเช่นเดียวกัน ดังแผนภาพต่อไปนี้
๔.เรื่องย่อ
    นิราศนรินทร์คำโคลงเริ่มเรื่องด้วยร่ายสุภาพยอพระเกียรติพระมหากษัตริย์ แล้วกล่าวถึงความเจริญของบ้านเมือง จากนั้นจึงรำพันถึงการจากนางอันเป็นที่รักและพรรณนาสถานที่ที่ผ่านไป โดยนายนรินทรธิเบศร์ (อิน)  ได้ออกเดินทางเริ่มต้นจากคลองขุดผ่านวัดแจ้ง  คลองบางกอก (ใหญ่)  วัดหงส์  วัดสังข์กระจาย  บางยี่เรือ (คลอง) ด่านนางนอง บางขุนเทียน บางบอน บางหัวกระบือ โคกขาม คลองโคกเต่า มหาชัย ท่าจีน บ้านบ่อ นาขวาง คลองสามสิบสองคด คลองย่านซื่อ แม่กลองปากน้ำ (ออกทะเล) บ้านแหลม คุ้งคดอ้อย เพชรบุรี ชะอำ ห้วยขมิ้น ท่าข้าม เมืองปราณ (บุรี) สามร้อยยอด ทุ่งโคแดง (ทุ่งวัดแดง) อ่าวนางรม (อ่าวประจวบ) บางสะพาน ขามสาวบ่าว อู่แห้ง เขาหมอนเจ้า โพสลับ ลับยักษ์ เมืองแม่น้ำ อู่สะเภา หนองบัว แก่งตุ่ม แก่งคุลาตีอก แก่งแก้ว (แก่งแก้วสงสาร) แก่งนางครวญ ปากน้ำ (ร่วม) เขาเพชร จนถึงตระนาว (ตะนาวศรี) เป็นที่หมายปลายทาง
๕.เนื้อเรื่อง
นิราศนรินทน์
                       ศรีสิทธิ์พิศาลภพ เลอหล้าลบล่มสวรรค์  จรรโลงโลกกว่ากว้าง  แผนแผ่นผ้างเมืองเมรุ  ศรีอยุธเยนทร์แย้มฟ้า  แจกแสงจ้าเจิดจันทร์  เพียงรพิพรรณผ่องด้าว  ขุนหาญท้าวแหนบาท  สระทุกข์ราษฎร์รอนเสี้ยน  ส่วนเศิกเหลี้ยนล่งหล้า  ราญราบหน้าเกริน  เข็ญข่าวยินยอบตัว  ควบค้อมหัวไหว้ละล้าว  ทุกไทน้าวมาลย์น้อม  ขอออกอ้อมมาอ่อน  ผ่อนแผ่นดินให้ผาย  ขยายแผ่นฟ้าให้แผ้ว  เลี้ยงทแกล้วให้กล้า  พระยศไท้เทิดฟ้า  เฟื่องฟุ้งทศธรรม  ท่านแฮ
                              อยุธยายศล่มแล้ว                          ลอยสวรรค์ ลงฤา
                    สิงหาสน์ปรางค์รัตน์บรร-                      เจิดหล้า
                    บุญเพรงพระหากสรรค์                          ศาสน์รุ่ง เรืองแฮ
                    บุญเพรงพระหากสรรค์                          ฝึกฟื้นใจเมือง
                                                                   ฯลฯ

                                เอียงอกเทออกอ้าง                      อวดองค์ อรเอย
                    เมรุชุบสมุทรดินลง                                 เลขแต้ม
                    อากาศจักจารผจง                                    จารึก พอฤา
                    โฉมแม่หยาดฟ้าแย้ม                               อยู่ร้อนฤาเห็น
                                                                   ฯลฯ
                                 ร่ำรักร่ำเรื่องร้าง                         แรมนวล  นาฏฤา
                    เสนาะสนั่นดินครวญ                             ครุ่นฟ้า
                    สารสั่งพี่กำสรวล                                   แสนเสน่ห์  นุชเอย
                    ควรแม่ไว้ต่างหน้า                                  พี่พู้นภายหลัง

                                                                    ฯลฯ

นิราศนริทร์คำโคลง

ความเป็นมา
      นิราศ เป็นงานประพันธ์ประเภทหนึ่งของไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ เท่าที่ปรากฏหลักฐานในปัจจุบัน นิราศเรื่องแรกของไทยนั้นคือ โคลงนิราศหริภุญชัย ซึ่งแต่งในสมัยกรุงศรีอยุธยา
๑.๑ ลักษณะของนิราศ
      พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช ๒๕๔๒ อธิบายว่า “นิราศ” หมายถึง .เรื่องราวที่พรรณนาถึงการจากกันหรือจากที่อยู่ไปในที่ต่างๆ
 ๑.๒ เนื้อหาของนิราศ
      เนื้อหานิราศส่วนใหญ่มักเป็นการคร่ำครวญของกวี (ชาย) ต่อสตรีอันเป็นที่รักเนื่องจากต้องพลัดพรากจากนางมาไกลไม่ว่าจะเป็นด้วยเหตุใดก็ตาม
      อย่างไรก็ตาม อาจกล่าวได้ว่าวรรคดีนิราศมักมีความเศร้าเพราะร้างรักเป็นแก่นเรื่องของรายละเอียดอื่นๆ ที่ปรากฏในเนื้อเรื่องเป็นเพียงส่วนประกอบเท่านั้น
 ๑.๓ นางในนิราศ
      สำหรับนางในนิราศที่กวีพรรณนานั้น อาจมีตัวตนจริงหรือไม่ก็ได้แต่กวีถือว่า นางอันเป็นที่รักเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งที่จะเอื้อให้กวีแต่งนิราศได้ไพเราะในบางกรณกวีเมื่อเดินทางไกลและแม้ว่าจะไม่ได้จากนางอันเป็นที่รักจริง เพราะมีนางนั้นติดตามาด้วย แต่กวีก็ยังต้องครวญถึงนางตามแบบแผนของนิราศ
 ๑.๔ คำประพันธ์ในนิราศ
         วรรณคดีประเภทนิราศอาจแต่งด้วยคำประพันธ์หลายๆประเภท เช่น โคลง กาพย์ กลอน กาพย์ห่อโคลง แต่ที่นิยมมากสุดในสมัยโบราณได้แก่ โคลง ส่วนมากมักขึ้นต้นด้วยร่ายหนึ่งบทและร่ายหนึ่งบทนี้จะมีใจความสดุดีบ้านเมืองและยอพระเกียรติพระมาหากษัตริย์
นิราศนรินทน์คำโคลง
     นิราศนรินทน์คำโคลงมีลักษณะเป็นนิราศแท้ คือมีเนื้อหาสำคัญอยู่ที่การคร่ำครวญถึงนางอันเป็นที่รักที่กวีจากมา ส่วนรายละเอียดอื่นๆ เป็นเพียงส่วนประกอบเท่านั้นเป็นที่ยอมรับทั่วไปว่านิราศนรินทน์คำโคลงเป็นนิราศที่มีความไพเราะที่สุดเรื่องหนึ่งของไทย
                                                                         อยุธยายศล่มแล้ว               ลอยสวรรค์ ลงฤา
                                                         
สิงหาสน์ปรางค์รัตน์บรร-         เจิดหล้า
                                                         
บุญเพรงพระหากสรรค์             ศาสน์รุ่ง เรืองแฮ
                                                         
บุญเพรงพระหากสรรค์             ฝึกฟื้นใจเมือง
                                                         
เรืองเรืองไตรรัตน์พ้น               พันแสง
                                                         
รินรสพระธรรมแสดง                ค่ำเช้า
                                                         
เจดีย์ระดะแซง                       เสียดยอด
                                                         
ยลยิ่งแสงแก้วเก้า                  แก่นหล้าหลากสวรรค์
                                                         
เอียงอกเทออกอ้าง                อวดองค์ อรเอย
                                                         
เมรุชุบสมุทรดินลง                 เลยแต้ม
                                                         
อากาศจักจารผจง                  จารึก พอฤา
                                                         
โฉมแม่หยาดฟ้าแย้ม              อยู่ร้อนฤาเห็น


การวิเคราะห์คุณค่าจากเรื่องนิทานเวตาลเรื่องที่ ๑๐

การวิเคราะห์คุณค่าจากเรื่องนิทานเวตาลเรื่องที่ ๑๐

                                นิทานเวตาลมีคุณค่า ๓ ประการ ได้แก่ คุณค่าด้านข้อคิด คุณค่าด้านภาษา และคุณค่าด้านวัฒนธรรม
                                ๑. คุณค่าด้านข้อคิด นิทานเวตาลมีคุณค่าด้านข้อคิด ๒ ประการ ได้แก่ ผลเสียของสงครามและการด่วนตัดสินโดยไม่ไตร่ตรองให้รอบคอบ
                                ๑.๑ ผลเสียของสงคราม สงครามทำให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินและชีวิตดังจะเห็นได้จาก การที่นายทหารและไพร่พลของท้าวมหาพลเห็นแก่อามิสสินบนฝ่ายศัตรูจึงทำให้เสียบ้านเมือง ไพร่พลของท้าวมหาพลต้องตายในการศึกสงคราม จนในที่สุดรี้พลของท้าวมหาพลร่อยหรอย่อยยับไป แม้กระทั่งท้าวมหาพลเองก็ต้องพาพระมเหสีและพระราชธิดาหนีออกจากกรุง ทำให้พระองค์ถูกโจรฆ่าชิงทรัพย์
                                ๑.๒ การด่วนตัดสินโดยไม่ไตร่ตรองให้รอบคอบ การด่วนตัดสินใจ โดยไม่ได้ไตร่ตรองให้รอบคอบ ทำให้เกิดปัญหา ผู้ปกครองจึงควรมีสติและวิจารณญาณ  ดังที่พระราชาจันทเสนและพระราชโอรสเห็นรอยเท้าของนางทั้งสอง และสรุปว่ารอยเท้าเล็กต้องเป็นของนางผู้มีอายุน้อย ส่วนรอยเท้าใหญ่ต้องเป็นของผู้มีอายุมากกว่า นับว่าเป็นการคาดคะเนที่ผิด อันนำไปสู่ปัญหาในภายหลัง ดังปรากฏในเรื่องว่า แลเพราะเหตุที่คาดขนาดเท้าผิด ลูกกลับเป็นเมียพ่อ แม่กลับเป็นเมียลูก ลูกกลับเป็นแม่เลี้ยงของผัวแม่ตัวเอง แลแม่กลับเป็นลูกสะใภ้ของผัวแห่งลูกตน แลต่อมาบุตรแลธิดาก็เกิดจากนางทั้งสอง แลบุตรแลธิดาแห่งนางทั้งสองก็มีบุตรและธิดาต่อๆ กันไป
                                ๒. คุณค่าด้านภาษา  น.ม.ส. ทรงแปลนิทานเวตาลจากต้นฉบับภาษาอังกฤษโดยใช้สำนวนภาษาของตนเอง ซึ่งมีลักษณะดังนี้
                                ๒.๑ การใช้ภาษาที่อ่านง่าย กระชับ เป็นการเลือกใช้ถ้อยคำที่มีความหมายชัดเจน โดยไม่มีคำศัพท์ที่ต้องแบ่งหรือตีความ เช่น
                                สองนางพระองค์สั่นพากันหนีห่างออกไปจากหมู่บ้านโจร ทางจะไปทางไหนหาทราบไม่ ความมุ่งมาดมีอยู่แต่ว่าจะหนีให้พ้นมือพวกภิลล์ซึ่งเป็นคนชาติต่ำช้าเท่านั้น
                                ครั้นกษัตริย์ทั้งสองพระองค์ทรงกระทำสัญญาแบ่งนางกันดังนี้แล้ว ก็ทรงชักม้าตามรอยเท้านางเข้าไปในป่า สักครู่หนึ่งเห็นสองนางนั่งพักอยู่ใต้ร่มไม้ กษัตริย์สององค์ก็เสด็จลงจากม้าเข้าไปถามนางทั้งสององค์ก็เล่าเรื่องให้ทรงทราบทุกประการ
                                ๒.๒ การสร้างอารมณ์ขัน เป็นลักษณะเด่นของนิทานเวตาล ซึ่งทำให้น่าสนใจและชวนอ่าน ส่วนใหญ่เป็นคำพูดของเวตาลที่ต้องการยั่วพระวิกรมาทิตย์ เช่น
                                ครั้งนี้ข้าพเจ้าให้เกิดกระเหม่นตาซ้ายหัวใจเต้นแรง  แลตาก็มืดมัวเป็นลางไม่ดีเสียแล้ว  แต่ข้าพเจ้าก็จะเล่าเรื่องจริงถวายอีกเรื่องหนึ่งแลเพราะเหตุข้าพเจ้าเบื่อหน่ายการถูกแบกสะพายไปมาเป็นหลายเที่ยวแล้ว  แม้พระองค์ไม่ทรงเบื่อเป็นผู้แบกก็จริง  ข้าพเจ้าจะตั้งปัญหาที่อยากทูลถามสักที  ถ้าทรงตอบได้พระปัญญาก็มากยิ่งกว่าที่ข้าพเจ้าคิดว่าจะมีในพระราชาพระองค์ใด
                                ครั้งนี้แม้แต่กระแอม  พระวิกรมาทิตย์ก็ไม่ทรงกระแอม  เวตาลจึงกล่าวอีกครั้งหนึ่งว่า เมื่อพระองค์ทรงจนปัญญาถึงเพียงนี้แล้ว  บางทีพระราชบุตรซึ่งทรงปัญญาเฉลียวฉลาดจะทรงแก้ปัญหาได้บ้างกระมัง แต่พระธรรมธวัชพระราชบุตรนิ่งสนิททีเดียว
                                ๒.๓ การใช้ประโยคสมดุลกัน คือวางข้อความซ้ำและขนานความกันไป เช่น
                                ท้าวมหาพลเห็นจะรักษาชีวิตพระองค์ไว้ไม่ได้ด้วยวิธีรบ ก็คิดจะรักษาด้วยวิธีหนี
                                “ข้าศึกมีกำลังมากแลชำนาญการศึกใช้ทั้งทองคำแลเหล็กเป็นอาวุธ  คือ  ใช้ทองคำซื้อน้ำใจนายทหารและไพร่พลของพระราชาให้เอาใจออกห่างจากพระองค์  แลใช้เหล็กเป็นอาวุธฆ่าฟันคนที่ซื้อน้ำใจไม่ได้
                                ๒.๔ การใช้คำซ้อน มีดังนี้
                                จนในที่สุดรี้พลของท้าวมหาพลหรอร่อย ย่อยยับไป
                                พวกโจรเข้ากลุ้มรุมรบพระราชา
                                ความมุ่งมาดมีอยู่แต่ว่าจะหนีให้พ้นมือพวกภิลล์ซึ่งเป็นคนชาติต่ำช้าเท่านั้น


                                ๓. คุณค่าด้านวัฒนธรรม นิทานเรื่องนี้แสดงให้เห็นวัฒนธรรมเรื่องการนับญาติซึ่งเป็นปมปัญหาที่เวตาลนำมาถามพระวิกรมาทิตย์ แต่การนับญาติในนิทานเรื่องนี้เกิดจากการสลับคู่ผิดไปจากระเบียบแบบแผนที่ปฏิบัติกันในสังคม อย่างไรก็ดี การนับญาติที่เป็นปัญหานี้กลับเป็นปริศนาที่ชวนให้ขบคิด และไม่น่าจะมีคำตอบที่แน่ชัด ดังจะเห็นได้ว่าการที่พระวิกรมาทิตย์ไม่ทรงตอบเวตาลเพราะทรงตีปัญหาไม่ได้ อีกทั้งเวตาลเองก็ดูเหมือนจะตั้งใจถามคำถามที่ไม่มีคำตอบนี้ดังปรากฏตั้งแต่ตอนต้นเรื่องว่า ครั้งนี้ข้าพเจ้าให้เกิดกระเหม่นตาซ้ายหัวใจเต้นแรงแลตาก็มืดมัวเป็นลางไม่ดีเสียแล้ว แต่ข้าพเจ้าก็จะเล่าเรื่องจริงถวายอีกเรื่องหนึ่ง แลเพราะเหตุข้าพเจ้าเบื่อหน่ายการถูกแบกสะพายไปมา เป็นหลายเที่ยวแล้ว แม้พระองค์ไม่ทรงเบื่อเป็นผู้แบกก็จริง ข้าพเจ้าจะตั้งปัญหาที่ยาก ทูลถามสักที ถ้าทรงตอบได้ พระปัญญาก็มากยิ่งกว่าที่ข้าพเจ้าคิดว่าจะมีในพระราชาพระองค์ใด

นิทานเวตาล (เรื่องย่อ)

เรื่องย่อ
                    ในโบราณกาล มีเมืองที่ใหญ่เมืองหนึ่งชื่อ กรุงธรรมปุระ พระราชาทรงพระนามว่า ท้าวมหาพล มีพระมเหสีที่ทรงสิริโฉมงดงามแม้มีพระราชธิดาที่ทรงเจริญวัยแล้ว ต่อมาได้เกิดศึกสงครามทหารของท้าวเอาใจออกห่าง ทำให้ทรงพ่ายแพ้ พระองค์จึงทรงพาพระมเหสีและพระราชธิดาหลบหนีออกจากเมืองเพื่อไปเมืองเดิมของพระมเหสี ในระหว่างทางท้าวมหาพลได้ถูกโจรรุมทำร้ายเพื่อชิงทรัพย์และสิ่งของมีค่า จนพระองค์สิ้นพระชนม์ จนพระราชธิดาและพระมเหสีเสด็จหนีเข้าไปในป่าลึก
   ในเวลานั้นมีพระราชาทรงพระนามว่า ท้าวจันทรเสน กับพระราชบุตร ได้เสด็จมาประพาสป่าและพบรอยเท้าของสตรีซึ่งเมื่อพบสตรีทั้งสองจะให้รอยเท้าที่ใหญ่เป็นพระมเหสีของท้าวจันทรเสน และรอยเท้าที่เล็กเป็นพระชายาของพระราชบุตร แต่เมื่อพบนางทั้งก็ปรากฏว่า รอยเท้าที่ใหญ่คือพระราชธิดา และรอยเท้าที่เล็ก นั้นคือ พระราชมารดา ดังนั้นพระราชธิดาจึงเป็นพระมเหสีของท้าวจันทรเสน และพระมารดาได้เป็นพระชายาของพระราชบุตร

เนื้อเรื่อง
          เวตาลกล่าวว่า ครั้งนี้ข้าพเจ้าเขม่นตาซ้ายหัวใจเต้นแรง แลตาก็มืดมัวเหมือนลางไม่ดีเสียแล้ว  แต่ข้าพเจ้าจะเล่าเรื่องจริงถวาย แลเหตุที่ข้าพเจ้าเบื่อหน่ายที่ต้องถูกแบกหามไปหามมา
           ในโบราณกาล มีเมืองที่ใหญ่เมืองหนึ่งชื่อ กรุงธรรมปุระ พระราชาทรงพระนามว่า ท้าวมหาพล มีพระมเหสีที่ทรงสิริโฉมงดงามแม้มีพระราชธิดาที่ทรงเจริญวัยแล้ว ต่อมาได้เกิดศึกสงครามทหารของท้าวเอาใจออกห่าง ทำให้ทรงพ่ายแพ้ พระองค์จึงทรงพาพระมเหสีและพระราชธิดาหลบหนีออกจากเมืองเพื่อไปเมืองเดิมของพระมเหสี ในระหว่างทางท้าวมหาพลได้ถูกโจรรุมทำร้ายเพื่อชิงทรัพย์และสิ่งของมีค่า จนพระองค์สิ้นพระชนม์ จนพระราชธิดาและพระมเหสีเสด็จหนีเข้าไปในป่าลึก
            ในเวลานั้นมีพระราชาทรงพระนามว่า ท้าวจันทรเสน กับพระราชบุตร ได้เสด็จมาประพาสป่าและพบรอยเท้าของสตรีซึ่งเมื่อพบสตรีทั้งสองจะให้รอยเท้าที่ใหญ่เป็นพระมเหสีของท้าวจันทรเสน และรอยเท้าที่เล็กเป็นพระชายาของพระราชบุตร แต่เมื่อพบนางทั้งก็ปรากฏว่า รอยเท้าที่ใหญ่คือพระราชธิดา และรอยเท้าที่เล็ก นั้นคือ พระราชมารดา ดังนั้นพระราชธิดาจึงเป็นพระมเหสีของท้าวจันทรเสน และพระมารดาได้เป็นพระชายาของพระราชบุตร
      ครั้นกษัตริย์ทั้งสององค์ทรงกระทำสัญญาแบ่งนางกันดังนี้แล้ว ก็ชักม้าตามรอยเท้านางเข้าไปในป่า
       พระราชากับพระราชบุตรก็เชิญนางทั้งสองขึ้นบนหลังม้าองค์ละองค์ นางพระบาทเขื่องคือพระราชธิดาขึ้นทรงม้ากับท้าวจันทรเสน นางพระบาทเล็กคือพระมเหสีขึ้นทรงช้างกับพระราชบุตร สี่องค์ก็เสด็จเข้ากรุง
          กล่าวสั้นๆ ท้าวจันทรเสน แลพระราชบุตรก็ทำวิวาหะทั้งสองพระองค์ แต่กลับคู่กันไป คือพระราชบิดาวิวาหะกับพระราชบุตรี  พระราชบุตรวิวาหะกับพระมเหสี แลเพราะเหตุที่คาดขนาดเท้าผิด ลูกกลับเป็นเมียพ่อ แม่กลับเป็นเมียลูก ลูกกลับเป็นแม่เลี้ยงของผัวตัวเอง แลแม่กลับเป็นลูกสะใภ้ของผัวแห่งลูกตน
         แลต่อมาบุตรแลธิดาก็เกิดจากนางทั้งสอง แลบุตรแลธิดาของนางทั้งสองก็มีบุตรแลธิดาต่อๆกันไป
         เวตาลเล่ามาเพียงครู่หนึ่ง แล้วกล่าวต่อไปว่า
      “บัดนี้ข้าพเจ้าจะตั้งปัญหาทูลถามพระองค์ว่า ลูกท้าวจันทรเสนที่เกิดจากธิดาท้าวมหาพลลูกพระมเหสีท้าวมหาพลที่เกิดกับพระราชบุตรท้าวจันทรเสนนั้น จะนับญาติกันอย่างไร
       พระวิกรมาทิตย์ได้ทรงฟังปัญหาก็ทรงตรึกตรองเอาเรื่องของพ่อกับลูก  แม่กับลูก แลกับน้องมาปนกันยุ่ง แลมิหนำซ้ำมาเรื่องแม่เลี้ยงกับแม่ตัว  แลลูกสะใภ้กับลูกตัวอีกเล่า
           พระราชาทรงตีปัญหายังไม่ทันแตก พอนึกขึ้นได้ว่าการพาเวตาลไปส่งคืนโยคีนั้นจะสำเร็จก็ด้วยไม่ทรงตอบปัญหา จึงเป็นอันทรงนิ่งเพราะจำเป็นแลเพราะสะดวก  ก็รีบสาวก้าวดำเนินเร็วขึ้น
           ครั้นเวตาลทูลเย้าให้ตอบปัญหาด้วยวิธีกล่าวว่าโง่ จะรับสั่งอะไรไม่ได้ ก็ทรงกระแอม
           เวตาลทูลถามว่า
          รับสั่งตอบปัญหาแล้วไม่ใช่หรือ
          พระราชาไม่ทรงตอบว่ากระไร เวตาลก็นิ่งครู่หนึ่งแล้วทูลถามว่า
           บางมีพระองค์จะโปรดฟังเรื่องสั้นๆ อีกสักเรื่องหนึ่งกระมัง
          ครั้งนี้แม้แต่กระแอม พระวิกรมาทิตย์ก็ไม่ทรงกระแอม เวตาลจึ่งกล่าวอีกครั้งหนึ่งว่า
         เมื่อพระองค์ทรงจนปัญญาถึงเพียงนี้ บางทีพระราชบุตรซึ่งทรงปัญญาเฉลียวฉลาดจะทรงแก้ปัญหาได้บ้างกระมัง
           แต่พระธรรมวัชพระราชบุตรนิ่งสนิททีเดียว

วิดีโอประกอบ



อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง (เรื่องย่อ)



เรื่องย่อ อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง

          ด้านกษัติร์ย์อีกวงศ์หนึ่งคือ ท้าวกะหมังกุหนิง มีพระโอรสคือ วิหยาสะกำ ครองเมืองปาหยัง  และโอรสอีกพระองค์ครองเมืองปะหมันสลัด วันหนึ่งวิหยาสะกำได้เสด็จประพาสป่า ได้เจอรูปนางบุษบาที่หายไป จึงคลั่งไคล้นางบุษบาเป็นอย่างมาก ท้าวกะหมังกุหนิงจึงสืบเรื่องและให้ทูตไปสู่ขอ แต่ท้าวดาหาได้ยกนางบุษบาให้จรกาไปแล้ว ท้าวกะหมังกุหนิง จึงตั้งใจจะยกทัพมาแย่งชิงนางบุษบาไป โดยให้ระตูปาหยังและระตูปะหมัน พระอนุชายกทัพมาช่วย โดยมีวิหยาสะกำเป็นทัพหน้า และพระอนุชาทั้งสองคนเป็นทัพหลัง

         ด้านท้าวดาหา เมื่อทราบความว่าท้าวกะหมังกุหนิงเตรียมยกทัพมาตี จึงได้ขอความช่วยเหลือจากท้าวกุเรปัน ท้าวกาหลัง และท้าวสิงหัดส่าหรี ท้าวกุเรปันจึงได้ส่งพระราชสาสน์มาฉบับหนึ่ง เพื่อให้อิเหนายกทัพมาช่วย อีกฉบับส่งให้ระตูหมันหยา พร้อมตำหนิที่นางจินตะหราวาตี ลูกสาวของระตูหมันหยา เป็นต้นเหตุของการเกิดศึกนี้ ระตูหมันหยารู้สึกผิดจึงส่งทัพไปช่วยอิเหนา ด้านท้าวกาหลังก็ให้ ตำมะหงงกับดะหมังมาช่วย และท้าวสิงหัดส่าหรีก็ส่งสุหรานากงมาช่วยเช่นกัน จนกระทั่งถึงเมืองดาหา อิเหนาจึงมีบัญชาให้รบกับท้าวกะหมังกุหนิง


         เมื่อทั้งสองฝ่าย ฝ่ายทัพของท้าวดาหาและท้าวกะหมังกุหนิงเผชิญหน้ากัน  สังคามาระตาก็ต่อสู้กับวิหยาสะกำ ซึ่งวิหยาสะกำเป็นฝ่ายเพลี่ยงพล้ำถูกสังคามาระตาสังหาร เมื่อท้าวกะหมังกุหนิงเห็นลูกตายก็โกรธ จึงควบม้าไล่ตามสังคามาระตา อิเหนาจึงเข้าสกัดเอาไว้และทั้งสองจึงต่อสู้กัน แต่อิเหนามองว่าท้าวกะหมังกุหนิงเก่งเพลงดาบจึงขอให้ใช้กริชสู้ สุดท้ายอิเหนาใช้กริชสังหารท้าวกะหมังกุหนิง ระตูปะหมันและระตูปาหยัง คิดว่าทัพของอิเหนานั้นยิ่งใหญ่เกินจะต้านทาน ไพร่พลจึงกระจัดกระจายไปคนละทิศละทาง ระตูทั้งสองจึงขอยอมแพ้อิเหนาพร้อมทั้งเข้าเฝ้า และคร่ำครวญว่ากะหมังกุหนิงไม่เคยรบแพ้ใคร แต่เพราะรักลูกมากเกินไปจึงติดประมาท วิหยาสะกำเองก็ตายตั้งแต่อายุยังน้อย แม้จะมีความกล้าหาญมากก็ตาม

อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง (ประวัติผู้แต่ง,ลักษณะคำประพันธ์)

ประวัติผู้แต่ง
        อิเหนาเป็นบทละครรำพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมหาราช รัชกาลที่ ๒ แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี ตลอดระยะเวลาที่พระองค์ทรงครองราชย์ เป็นสมัยที่วรรณคดีเจริญที่สุดในสมัยนี้หลาย เรื่องได้รับการยกย่องว่าเป็นยอดของวรรณคดี  และทรงได้รับการเทิดพระเกียรติจากองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ในฐานะบุคคลสำคัญของโลก
ลักษณะคำประพันธ์
     บทละครรำ เรื่อง อิเหนา มีรูปแบบการแต่งกลอนบทละครซึ่งมีลักษณะบังคับเหมือนกลอนสี่สุภาพ แต่ละวรรคมักจะขึ้นต้นด้วยคำว่า “เมื่อนั้น” “บัดนั้น” และ “มาจะกล่าวบทไป”
   แผนผังและตัวอย่างบทละคร
                                 บัดนั้น                                                   ดะหมังผู้มียศถา
                      นับนิ้วบังคมคัลวันทา                                       ทูลถวายสาราพระภูมี
                                  เมื่อนั้น                                                  ระตูหมันหยาเรืองศรี

                       รับสารมาจากเสนี                                             แล้วคลี่ออกอ่านทันใด